ไขข้อสงสัย…อาการปวดคอออฟฟิศซินโดรมเป็นแบบนี้รึเปล่า?

May 17, 2023

ใช้เวลาอ่าน 2 นาที

ไขข้อสงสัย…อาการปวดคอออฟฟิศซินโดรมเป็นแบบนี้รึเปล่า?

โพสใน

มีอาการปวดคอบ่อย ๆ ใช่อาการออฟฟิศซินโดรมหรือเปล่า?

เป็นคำถามที่พนักงานออฟฟิศหลายคนสงสัย เนื่องจากโรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) เป็นกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด และกลุ่มอาการปวดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อและเอ็นที่พบได้บ่อยในคนกลุ่มนี้

สำหรับพนักงานออฟฟิศท่านใดที่สงสัยว่า อาการปวดคอของตนเองเข้าข่ายการเป็นปวดคอออฟฟิศซินโดรมหรือไม่ Siam Okamura มีข้อมูลเกี่ยวกับอาการปวดคอออฟฟิศซินโดรม พร้อมลักษณะอาการอื่น ๆ ของโรคออฟฟิศซินโดรมมาฝาก จะมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลย

ปวดคอออฟฟิศซินโดรมมีอาการอย่างไรบ้าง?

อาการปวดคอออฟฟิศซินโดรมจะมีลักษณะอาการแตกต่างจากการปวดเมื่อยคอปกติตรงความถี่และความรุนแรงของอาการปวด โดยจะมีอาการปวดคอระดับปานกลางถึงมาก สามารถทนทำงานต่อไปได้บ้าง ไม่ได้บ้าง และในบางครั้งจะต้องกินยาแก้ปวด หรือไปนวดเพื่อบรรเทาอาการ

นอกจากนี้ในบางคนอาจมีอาการของระบบประสาทอัตโนมัติร่วมด้วย เช่น วูบ เหงื่อออก ตาพร่า หูอื้อ มึนงง หรือชา เป็นต้น

อาการอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากปวดคอออฟฟิศซินโดรม

นอกจากอาการปวดคอออฟฟิศซินโดรมแล้ว โรคออฟฟิศซินโดรมยังสามารถทำให้เกิดอาการปวดบริเวณอื่นได้ด้วย ดังนี้

1. ปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วน

ปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วน

เป็นอาการปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่ง โดยจะเป็นอาการปวดแบบกว้าง ๆ ไม่สามารถชี้จุด หรือระบุตำแหน่งที่ปวดได้อย่างชัดเจน

2. ปวดศีรษะเรื้อรัง

ปวดศีรษะเรื้อรัง

อาการปวดศีรษะเรื้อรังมักเกิดจากความเครียด หรือการใช้สายตาจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานานจนทำให้ปวดศีรษะ ซึ่งในบางครั้งอาจมีอาการปวดหัวไมเกรนร่วมด้วย

3. ปวดหลังเรื้อรัง

เป็นหนึ่งในอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืดที่พบได้บ่อยที่สุด โดยเกิดจากการทำพฤติกรรมเสี่ยงออฟฟิศซินโดรมอย่างการนั่งทำงานหลังค่อม นั่งก้มหน้า หรือนั่งห่อไหล่เป็นประจำ จนทำให้กล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวเกร็งอยู่ตลอดเวลา และทำให้เกิดอาการปวดและอักเสบตามมา

4. มีอาการปวดตึงที่บริเวณขาบ่อย ๆ

การที่เรานั่งทำงานนาน ๆ โดยที่ไม่มีการเปลี่ยนท่า หรือไม่มีการสลับไปยืนทำงาน จะทำให้เส้นเลือดดำถูกกดทับ และส่งผลให้เลือดไหลเวียนผิดปกติ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอาการปวดตึง หรือเหน็บชาที่บริเวณขาได้

5. ปวดตา ตาล้า สายตาพร่ามัว

อาการปวดตา ตาล้า ตาพร่ามัว เป็นอาการที่เกิดจากการจ้องมองหน้าจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน โดยที่ไม่มีการพักสายตา นับเป็นหนึ่งในอาการของออฟฟิศซินโดรมที่พบได้บ่อย

6. มือชา ปวดข้อมือ และนิ้วล็อก

มือชา ปวดข้อมือ และนิ้วล็อก

นอกจากอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืดแล้ว โรคออฟฟิศซินโดรมยังรวมถึงอาการปวดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อและเอ็นที่เกิดจากปลายประสาทที่ถูกกดทับเป็นประจำด้วย ซึ่งในหนึ่งในบริเวณที่พบบ่อยก็คือ การอักเสบของเอ็นข้อมือจากการจับเมาส์ในท่าเดิม ๆ นาน ๆ จนทำให้เกิดอาการมือชา นิ้วล็อก และปวดข้อมือนั่นเอง

โต๊ะทำงานและเก้าอี้ทำงานมีความเกี่ยวข้องกับอาการปวดคอออฟฟิศซินโดรมอย่างไร?

การนั่งทำงานด้วยท่าทางที่ไม่ถูกต้องเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของโรคออฟฟิศซินโดรม มักเกิดจากการใช้โต๊ะทำงานและเก้าอี้ทำงานที่ไม่เหมาะกับสรีระร่างกาย เช่น โต๊ะทำงานสูงเกินไปจนทำให้เวลานั่งทำงานแล้วขาลอย หรือเลือกใช้เก้าอี้ทำงานที่ไม่รองรับแผ่นหลัง เป็นต้น

การเลือกโต๊ะทำงานและเก้าอี้ทำงานที่ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดการเกิดอาการปวดคอออฟฟิศซินโดรม รวมถึงอาการปวดอื่น ๆ ได้มากนั่นเอง

สำหรับใครที่กำลังมองหาโต๊ะทำงานและเก้าอี้ทำงานเพื่อสุขภาพ Siam Okamura มีเฟอร์นิเจอร์ออฟฟิศคุณภาพให้เลือกใช้งานหลายรูปแบบ เช่น โต๊ะทำงานปรับระดับความสูงได้อย่างรุ่น SW หรือโต๊ะทำงานที่สามารถปรับแต่งฟังก์ชันให้ตอบโจทย์การทำงานอย่างรุ่น Manifold หากสนใจสามารถดูรายละเอียดได้ที่ทางเว็บไซต์ของเรา หรือ Official Store ในแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซชั้นนำต่าง ๆ เช่น ShopeeLazada และ Nocnoc ได้เลย

สิ่งที่ผู้อ่านจะได้รับ

อาการปวดคอออฟฟิศซินโดรมมีความแตกต่างจากอาการปวดคอทั่วไปตรงที่เป็นอาการปวดที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันค่อนข้างมาก ในบางคนอาจมีอาการปวดมากจนต้องกินยาแก้ปวด หรือมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น หน้ามืด หูอื้อ เหงื่อออก ตาพร่ามัว หรือนิ้วมือชา ถ้าหากคุณพบว่าตนเองมีอาการเหล่านี้อยู่ นั่นอาจเป็นสัญญาณของโรคออฟฟิศซินโดรม ควรที่จะไปพบแพทย์ หรือนักกายภาพบำบัดเพื่อรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพราะอาจทำให้โรคออฟฟิศซินโดรมรุนแรงขึ้นจนส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายได้

Tags: